| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | สถานะผู้เข้าชมเว็บไซต์ | ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้ บุคคลทั่วไป 6 คน | |
|
การประกันตัวผู้ต้องหา
เอกสารที่ต้องนำไปด้วย |
1.บัตรประจำตัวประชาชน
2.หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกันได้แก่
2.1 เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)
2.2 โฉนดที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ได้ประเมินราคาแล้ว หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่า ที่ดินราคาไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
2.3 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3ก) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
2.4 พันธบัตรรัฐบาล
2.5 สลากออมสิน หรือสมุดฝากเงินธนาคารประเภทประจำ
2.6 ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
2.7 ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
2.8 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
2.9 เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
2.10 หนังสือรับรองของธนาคาร เพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน
ในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัวแล้ว จะต้องนำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามีหรือ ภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย
|
วิธีการปฏิบัติในการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา |
1. ให้ผู้ที่จะมาขอประกันตัวผู้ต้องหา พบและยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
2. หากไม่สามารถเขียนคำร้องประกันได้เองให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวน เพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
3. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันซึ่งต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
4. เจ้าหน้าที่จะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้อง ให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับคำร้อง
5. หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า ให้รีบเข้าพบแจ้งต่อสารวัตรใหญ่ หรือสารวัตรคนใดคนหนึ่งทราบทันที
6. ในการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหานี้ เป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ ที่จะให้ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้ โดยพิจารณาถึง
6.1 ความหนักเบาแห่งข้อหา
6.2 พยานหลักฐานที่สืบแล้วมีเพียงใด
6.3 พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
6.4 ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจาการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่ให้ประกันก็ได้
7.หากเจ้าพนักงานตำรวจพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ก็จะนำสัญญาประกัน และผู้ยื่นประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานและยึดหลักทรัพย์ หรือเงินเท่าที่ท่านยื่นประกันไว้ โดยออกใบสำคัญแสดงการรับไว้ให้ด้วย แล้วผู้ต้องหาก็จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป
8.หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกัน อันสืบเนื่องจากเหตุในข้อ 6 จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์ไป |
การขอถอนหลักทรัพย์ที่ใช้ประกัน |
บุคคลซึ่งทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 ถึง 5 หรือข้าราชการอื่นเทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ที่มียศตั้งแต่ ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี หรือ ร้อยตำรวจตรี ถึงพันตำรวจตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรี
- ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันข้าราชการประจำ
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาจังหวัด- สมาชิกสภาเทศบาล
- สมาชิกสภาเมืองพัทยา- สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
- กรรมการสุขาภิบาล
- กำนัน
บุคคลซึ่งทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงินไม่ เกิน 60,000 บาท
-ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอก
- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันกับข้าราช การประจำ
บุคคลซึ่งทำสัญญาประกันผู้อื่น หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจเอก ที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก (พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือ พันตำรวจเอก (พิเศษ)ถึงพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรี
- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่ชั้น 3 ถึง 4
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันกับข้าราชการประจำ
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือ ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ที่มียศตั้งแต่ พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือพลตำรวจโท
บุคคลซึ่งสามารถทำสัญญาประกันผู้อื่น หรือตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
- ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ชั้น 5 ขึ้นไป
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันกับข้าราชการ
- สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการเมืองหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกัน แสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบพิจารณาอนุญาตโดยไม่ชักช้า
- ในกรณีจำเป็น เพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือน หรือภาระผูกพันอื่นใด อาจให้ผู้ยื่นประกันแสดงหนังสือรับรองจากต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้นภายในห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ประกัน
- กรณีบุคคลใดได้ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองไว้แต่หลักประกันยังไม่เป็นการเพียงพอ ให้ใช้บุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้หรือใช้หลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพิ่มเติมได้ |
การกำหนดราคาประกันตัวผู้ต้องหา |
ฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน |
10,000 บาทขึ้นไป |
ฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน |
20,000 บาทขึ้นไป |
ฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการปกครอง |
50,000 บาทขึ้นไป |
ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานแจ้งความเท็จ |
50,000 บาทขึ้นไป |
ฐานฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ แสดงหลักฐานเท็จ |
60,000 บาทขึ้นไป |
ฐานขัดหมายศาล |
10,000 บาทขึ้นไป |
ฐานซ่องโจร |
20,000 บาทขึ้นไป |
มีอาวุธปืนหรือของกลาง |
30,000 บาทขึ้นไป |
ฐานมั่วสุม 10 คนขึ้นไปให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง |
20,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าผู้กระทำผิดเป็นหัวหน้า |
50,000 บาทขึ้นไป |
ฐานวางเพลิงเผาทรัพย์สินผู้อื่น |
200,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าเป็นทรัพย์สินตามมาตรา 218 |
300,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย |
400,000 บาทขึ้นไป |
ฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานทำลายเอกสาร พินัยกรรมของผู้อื่น |
80,000 บาทขึ้นไป |
ฐานปลอมเอกสาร ( ม. 264) |
50,000 บาทขึ้นไป |
ฐานปลอมเอกสิทธิ์หรือเอกสารราชการ |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานปลอมเอกสาร (ม. 266) |
200,000 บาทขึ้นไป |
ฐานข่มขืนกระทำชำเรา (ม. 276, 277) |
150,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าร่วมกันข่มขืนโดยการโทรมหญิง |
200,000 บาทขึ้นไป |
ฐานกระทำอนาจาร |
500,000 - 100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักไป เพื่อการอนาจาร |
200,000 บาทขึ้น |
ฐานพรากผู้เยาว์ พรากเด็ก |
120,000 บาทขึ้นไป |
ฐานฆ่าผู้อื่น (ม. 288,289) |
400,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าเป็นการกระทำในขั้นพยายามกระทำผิด |
200,000 บาทขึ้นไป |
ฐานกระทำโดยประมาท มีผู้ถึงแก่ความตาย |
100,000 - 150,000 บาทขึ้นไป |
ฐานชุลมุน มีผู้ถึงแก่ความตาย |
50,000 บาทขึ้นไป |
ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย |
20,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าใช้อาวุธ |
30,000 บาทขึ้นไป |
ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานชุลมุนมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส |
20,000 บาทขึ้นไป |
ฐานกระทำโดยประมาทมีผู้ได้รับอันตรายสาหัส |
30,000 - 50,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าเป็นกรณีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานลักทรัพย์ (ม.334) |
50,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าถูกประทุษร้ายเกินกว่า 50,000 หรือลักทรัพย์โดยวิธีล้วงกระเป๋า |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานลักทรัพย์ (ม.335) |
120,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าเป็นกรณี ม.335 ทวิ 336 ทวิ |
200,000 บาทขึ้นไป |
ฐานวิ่งราวทรัพย์ |
120,000 บาทขึ้นไป |
ฐานกระโชกทรัพย์ |
100,000 บาทขึ้นไป |
ฐานรีดเอาทรัพย์ |
120,000 บาทขึ้นไป |
ฐานชิงทรัพย์ |
200,000 บาทขึ้นไป |
ฐานปล้นทรัพย์ |
300,000 บาทขึ้นไป |
ฐานฉ้อโกง, ฐานยักยอกทรัพย์, ฐานทำให้เสียทรัพย์ |
3ใน 4 ของจำนวนเงินหรือทรัพย์ที่กระทำแต่ขั้นต่ำ20,000 บาทขึ้นไป |
ฐานรับของโจร |
80,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. การพนัน |
|
ผู้เล่นการพนันตามบัญชี ก. |
10,000 บาทขึ้นไป |
ผู้เล่นการพนันตามบัญชี ข. |
5,000 - 10,000 บาทขึ้นไป |
เจ้ามือ |
30,000 บาทขึ้นไป |
เจ้าบ้าน |
20,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. อาวุธปืน |
|
มีอาวุธปืนไม่มีทะเบียน |
30,000 บาทขึ้นไป |
มีอาวุธปืน มีทะเบียน (พกพา) |
30,000 บาทขึ้นไป |
มีอาวุธของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาต (ผิดมือ) |
30,000 - 50,000 บาทขึ้นไป |
มีเครื่องกระสุนปืน |
20,000 - 50,000 บาทขึ้นไป |
มีอาวุธ เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด( นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้) |
100,000 บาทขึ้นไป |
มีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ |
50,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ยาเสพติด |
|
เสพกัญชา |
5,000 บาทขึ้นไป |
ครอบครองกัญชา (ไม่เกิน 20 กรัม) |
30,000 บาทขึ้นไป ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ 100,000 บาทขึ้นไป |
ครอบครองเฮโรอีน มอร์ฟีน (ไม่เกิน 1 กรัม) |
100,000 บาทขึ้นไป ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ 250,000 บาทขึ้นไป |
จำหน่ายกัญชา |
80,000 บาทขึ้นไป |
จำหน่ายเฮโรอีน มอร์ฟีน ไม่เกิน 1 กรัม |
100,000 บาทขึ้นไป ไม่เกิน 1 - 5 กรัม 300,000 บาทขึ้นไป |
จำหน่ายฝิ่น |
100,000 - 300,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท |
|
- เสพ |
30,000 - 50,000 บาทขึ้นไป |
- ครอบครอง |
50,000 - 100,000 บาทขึ้นไป |
- จำหน่าย |
200,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ป้องกันการใช้สารระเหยสูบดมสารระเหย กาว |
5,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ |
|
ขับรถประมาท ชนแล้วหนี |
20,000 บาทขึ้นไป |
มีผู้ได้รับบาดเจ็บแล้วหลบหนี |
30,000 บาทขึ้นไป |
มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสแล้วหลบหนี |
50,000 บาทขึ้นไป |
ขับรถประมาทมีผู้ถึงแก่ความตาย รถธรรมดา |
150,000 บาทขึ้นไป |
ขับรถประมาทมีผู้ถึงแก่ความตายรถสาธารณะ |
180,000 บาทขึ้นไป |
ขับรถประมาทมีผู้ถึงแก่ความตายรถสาธารณะหลบหนี |
200,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ |
|
ละเมิดลิขสิทธิ์ (ม. 24,25,26) |
100,000 บาทขึ้นไป |
ถ้าละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า |
200,000 บาทขึ้นไป |
ละเมิดลิขสิทธิ์ (ม. 27) |
40,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. อื่น ๆ |
|
พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม |
50,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ยา |
50,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ยาสูบ |
50,000 บาทขึ้นไป |
จัดหางานเพื่อทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต |
50,000 บาทขึ้นไป |
จัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ |
200,000 บาทขึ้นไป |
ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต |
20,000 บาทขึ้นไป |
มีวัสดุเทปโทรทัศน์ไม่ผ่านการพิจารณา |
10,000 บาทขึ้นไป |
เตร็ดเตร่เพื่อค้าประเวณีในที่สาธารณะ |
5,000 บาทขึ้นไป |
ค้าประเวณีในสถานค่าประเวณี |
5,000 บาทขึ้นไป |
เป็นธุระจัดหาหญิงเพื่อการค้าประเวณี |
20,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ศุลกากร |
200,000 - 300,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าด้วย |
พ.ร.บ. ชั่ง ตวง วัด |
20,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. โรงงาน |
50,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. คนเข้าเมือง |
80,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว |
40,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. อาคาร |
80,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่า |
100,000 บาทขึ้นไป |
พ.ร.บ. ป่าไม้ โรงงานแปรรูป |
200,000 บาทขึ้นไป |
|
|